พลังศรัทธา “พระสุพรรณกัลยา วีระสตรีผู้เสียสละเพื่อแผ่นดิน”

พรพสุพรรณกัลยา

พระสุพรรณกัลยา หรือ พระสุวรรณกัลยา หรือ พระสุวรรณเทวี ชาวพิษณุโลกถวายพระเกียรติยศว่าเป็นผู้เสียสละเพื่อประเทศชาติ แม้ในพงศาวดารไทยจะไม่ได้กล่าวถึง มีเพียงปรากฎอยู่ในเอกสารพม่า คือ คำให้การชาวกรุงเก่า และคำให้การขุนหลวงหาวัด กองทัพภาคที่ ๓ ได้จัดสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระองค์ประดิษฐาน ไว้ ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ให้ๆกับพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ


พระสุพรรณกัลยาทรงเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช กับ พระวิสุทธิกษัตรี เป็นพระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติเมื่อวันเสาร์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2065 ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก (บริเวณที่ตั้ง โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ในปัจจุบัน)ละเจริญพระชนม์ เมืองพิษณุโลก

พลังศรัทธา “พระสุพรรณกัลยา” ของ…พ.ญ.นลินี ไพบูลย์

 

พญ.นลินี ,หม��ต้��ย

ทำธุรกิจต้องมีปัญหา ทำให้เราเกิดเป็นความทุกข์ ยังเคยอธิษฐานเล่าบอก ให้พระรูปพระสุพรรณกัลยาได้ฟัง เหมือนพระองค์ก็เป็นบรรพบุรุษ ของชาวไทย เช่นเดียวกับที่คนเรา นำกระดูกของปู่ยาตายายมากราบไหว้ แต่พระองค์ท่านก็ เหมือนเป็นบรรพบุรุษ ของชาวไทยทุกคนเมื่อ ๔๐๐ ปี”

 

นี่เป็นเหตุผลในพลังศรัทธา พระสุพรรณกัลยาของ พ.ญ.นลินี ไพบูลย์ หรือ “หมอต้อย” ประธานกรรมการ บริษัท สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ กิฟฟารีน ที่ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๓๙ มียอดขายในปัจจุบัน ๓,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี

พ.ญ.นลินี กล่าวว่า ความศรัทธาต่อพระสุพรรณกัลยา คงมาจากประวัติของ พระองค์ท่านที่ต้องยอมตกเป็น เชลยศึกใช้เวลาที่ยาวนานถึง ๒๐ ปี ที่มีความเป็นไปได้ว่า พระองค์ท่านอาจจะอยู่เบื้องหลัง ของการกอบกู้ อิสรภาพ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามประวัติของพระองค์ท่านนั้น

พระสุวรรณเทวี เมื่อทรงเป็นพระชายา ของบุเรงนองแล้ว ทรงมีพระนามว่าพระสุพรรณกัลยา” ทรงมีตำหนัก ของพระองค์ อยู่ในพระราชวังหงสาวดี มีสมเด็จน้าพระเทพกษัตรี น้องสาวพระมหินทราธิราชกษัตริย์ อยุธยาองค์ก่อน ซึ่งเคยถูกบุเรงนองแย่งชิงตัวมาเป็นชายา ระหว่างเดินทางไปอภิเษก กับกษัตริย์ล้านช้าง เป็นผู้ให้กำลังใจ และให้คำแนะนำว่า หนทางไปสู่ความเป็นไทของแผ่นดินนั้น เริ่มต้นที่ตัวพระสุพรรณกัลยาเอง หากรู้จักใช้วาจาและโอกาส

ต่อมาพระสุพรรณกัลยา ได้ขอร้องให้พระเจ้าบุเรงนอง ส่งพระนเรศวรกลับคืนอยุธยาได้สำเร็จ ทำให้ พระนเรศวร ได้ไปครองพิษณุโลก และฝึกฝนผู้คน จนตั้งเป็นกองทัพไทยได้ที่เมืองนั้น

ฝ่ายบุเรงนองเริ่มปลงตก ในความไม่ยั่งยืนของอำนาจ จึงมุ่งแต่บำรุงพระศาสนา จนกระทั่งประชวรสวรรคต เมื่อปี ๒๑๒๔ อุปราชมังชัยสิงห์ ขึ้นครองราชย์ต่อ เป็นพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรงตั้งพระราชบุตรมังกะ ยอชวา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา” และทรงรับเอาพระสุพรรณกัลยา มาเป็นพระชายาด้วย

 

 

ครั้งนั้น พระนเรศวรทรงยกทัพออกรับ ที่หนองสาหร่าย เมื่อปี ๒๑๓๕ และทรงทำ ยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา จนได้ชัยชนะ พระเจ้าหงสาวดีเสียพระทัย ที่เสียพระมหาอุปราชา เสวยน้ำจัณฑ์จนขาดสติ ถึงกับคว้าพระแสง ดาบมาสังหารพระสุพรรณกัลยา ด้วยพระองค์เอง ซึ่งพระสุพรรณกัลยาก็ทรงยอม รับความตายโดยเต็ม พระทัย สมดังพระวาจาที่เคยรับประกันไว้ จึงเป็นอันสิ้นสุด ๒๔ ปี ของราชนารีผู้มีชีวิตอยู่ด้วยความระทมทุกข์ และเสียสละ ในฐานะตัวประกัน ในแดนศัตรู เพื่อให้ไทยมีโอกาสกู้เอกราชได้สำเร็จ

หมอต้อย” บอกด้วยว่า พลังศรัทธาที่มีต่อ พระสุพรรณกัลยา เริ่มต้นจาก ชีวิตคู่ล้มเหลว ความเสียใจมีทวีคูณ คิดมากไม่มีงานทำ จึงได้เดินทางไปไหว้ พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระบรมรูปพระสุพรรณ กัลยา ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อ.เมือง จ.พิษณุโลก ที่เชื่อว่าเป็นตำแหน่ง ของพระราชวังจันทร์ แล้วที่นี่ก็มีพระรูป ของพระสุพรรณกัลยา จึงได้คุยกับน้าว่า คนไทยไม่รู้ความเป็นมาของ พระสุพรรณกัลยาเลย รู้จักแต่พระนเรศวรมหาราช

หลังจากได้ไปไหว้สักการะพระองค์ท่านแล้ว ก็มีความตั้งใจว่าจะวาดภาพ พระสุพรรณกัลยา ให้คนไทยได้บูชา พอเปิดบริษัทได้ ๖ เดือน จึงได้ให้น้อง ที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วาดภาพพระสุพรรณกัลยา ตามจินตนาการ นางในวรรณคดีก็แล้วกัน ช่างผู้นี้ได้วาด กว่าจะเสร็จภาพแรกใช้เวลาประมาณ ๑ ปี

ที่ผ่านมาไม่เคยนิมิตเห็น พระสุพรรณกัลยาแต่อย่างใด แต่เคยฝันเห็นพระบรมรูป ของพระองค์ท่านหลังจาก เดินทางกลับ เมื่อครั้งที่เดินทางไปไหว้พระองค์ท่าน ที่พิษณุโลก จึงคิดขึ้นว่า น่าจะมีคนปั้นพระบรมรูปของ พระองค์แล้วเป็นแน่ ในที่สุดได้ไปเห็นพระบรมรูป พระสุพรรณกัลยา ณ วัดลาดสิงห์ ต.บ้านสระ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ภาพพระบรมรูปสุพรรณกัลยา เหมือนในฝันจริงๆ สถานที่แห่งนี้ยังมี พระบรมรูปสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ” หมอต้อย กล่าวพร้อมกับบอกด้วยว่า

พระสุพรรณกัลยา,กิฟฟารีน,พ.ญ.นลินี

จากนั้นมาพระองค์ท่าน จึงเหมือนเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดบริษัท กิฟฟารีน เป็นกำลังใจ ให้ต่อสู้กับอุปสรรค จนวันนี้ ประสบความสำเร็จมาตลอดระยะเวลา ๙ ปี เราบูชาพระองค์ท่าน ก็เหมือนเราได้บูชาบรรพบุรุษ และยังคงเดินทางไปกราบสักการะ พระบรมรูปของพระองค์ อยู่เป็นประจำเช่นกัน และกิฟฟารีน ๙๒ สาขา ก็จะมีพระรูปของพระองค์ท่านบูชา

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติของพระองค์ท่าน หมอต้อยบอกว่า นอกจากทำปฏิทิน พระสุพรรณกัลยาแจกทุกปีแล้ว ส่วนหนึ่ง ยังได้ทำล็อกเก็ตพระองค์ท่าน ไปถวายให้วัด โดยเราจะ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับการเช่าบูชาอย่างเด็ดขาด เรากลัวมากที่ หลายคนอาจมองว่า เราหาผลประโยชน์จากตรงนั้น อาจทำให้เรา ไม่สบายใจ เราจึงระมัดระวังในเรื่องนี้มาตลอด

อยากบอกว่า เราสร้างให้วัดด้วยความศรัทธาก็แล้วกัน แต่ว่าวัด จะนำไปให้เช่า เพื่อนำปัจจัยไปสร้างเสนาสนะต่างๆ ของวัดก็แล้วแต่ ท่าน ชีวิตวันนี้จะไหว้พระสวดมนต์ แล้วก็ไหว้ พระรูปของ พระสุพรรณกัลยา ก่อนนอนทุกวัน เพื่อให้เป็นมงคลกับชีวิต และเพื่อให้ชีวิตมีความสุข และความสงบ” พ.ญ.นลินี กล่าวทิ้งท้าย

บางครั้งชีวิตทำธุรกิจต้องมีปัญหา ทำให้เราเกิดเป็นความทุกข์ ยังเคยอธิษฐานเล่าบอก ให้พระรูปพระ สุพรรณกัลยาได้ฟัง เหมือนพระองค์ก็เป็นบรรพบุรุษ ของชาวไทย”

เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง ภาพ พีระรัตน์ ธรรมจง

http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/11/05/02.php

 

 

 

สถานที่สักการะ


พระอนุสาวรีย์ พระสุพรรณกัลยาณี
ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (กองทัพภาคที่ 3) อำเมือง จังหวัดพิษณุโลก 


พระบรมรูป พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
ณ วัดลาดสิงห์ ตำบลบ้านสระ อ.สามชุม จ.สุพรรณบุรี


พระรูป ณ พระตำหนักสมเด็จพระนะรศวรมหาราช
วัดดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี


พระเจดีย์
ณ วัดบ้านน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่เชื่อกันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างถวายพระสุพรรณกัลยา และภายในพระเจดีย์ ได้บรรจุเส้นพระเกษาของพระพี่นางฯไว้ด้วย

2 Responses to “พลังศรัทธา “พระสุพรรณกัลยา วีระสตรีผู้เสียสละเพื่อแผ่นดิน””


  1. 1 ต้องตา กันยายน 21, 2008 เวลา 5:06 pm

    อยากได้รูปของพระสุพรรณกัลยานี หรือล็อกเก็ตจะเป็นพระคุณอย่างสูงมากเลย หนูหาไม่ได้เลย และหนูก้ศัทธาพระสุพรรณกัลยานี มากๆเลยค่ะ


  1. 1 เกี่ยวกับกิฟฟารีน ( Giffarine ) « Giffarine Skyline Business Center Trackback บน เมษายน 20, 2008 เวลา 6:35 am

ใส่ความเห็น




เมษายน 2008
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930  

Blog Stats

  • 118,090 hits